Photoshop: อักษรลำแสง (Beam Text)


ขั้นตอนที่ 1. สร้างไฟล์ Photoshop ขนาดเท่าไรก็ได้ ซึ่งตัวอย่างนี้ใช้พื้นที่ขนาด 300x300 แล้วเทพื้นหลังให้เป็นสีดำ


ขั้นตอนที่ 2. พิมพ์ตัวอักษรสีขาวลงไป โดยในตัวอย่างใช้อักษร Georgia ในแบบ Italic ขนาด 60pt



ขั้นตอนที่ 3. สร้างเลเยอร์เพิ่มขึ้นใหม่วางไว้ที่ด้านบนสุดจำนวน 6 เลเยอร์ โดยให้ตั้งชื่อว่า Layer 1,2,3,...,6 ตามลำดับดังรูป



ขั้นตอนที่ 4. ไปที่ Layer 1 แล้วให้กด Load Selection ของเลเยอร์ตัวอักษร (กดปุ่ม <Ctrl> พร้อมเลือกที่เลเยอร์ตัวอักษร) จากนั้นให้เทสี #ff0000 (R=255 G=0 B=0) ลงไป ก็จะได้ตัวอักษรสีแดงดังรูป



ขั้นตอนที่ 5. เลือกอีก 5 เลเยอร์ที่ได้ถูกสร้างไว้จากนั้นให้เทสีด้วยวิธี Load Selection แบบเดียวกับขั้นตอนที่ 4 แต่จะแตกต่างกันก็ตรงสีที่ใส่ลงใน Selection ของแต่ละเลเยอร์ดังนี้
Layer 1: #ff0000 (R=255 G=0 B=0) สีแดง
Layer 2: #f26522 (R=242 G=101 B=34) สีส้มเข้ม
Layer 3: #f7941d (R=247 G=148 B=29) สีส้ม
Layer 4: #ffc87d (R=255 G=200 B=125) สีส้มอ่อน
Layer 5: #ffff00 (R=255 G=255 B=0) สีเหลือง
Layer 6: #ffffff (R=255 G=255 B=255) สีขาว


โดยหลังจากที่ใส่สีลงในแต่ละเลเยอร์เสร็จแล้ว ก็ให้กด <Ctrl+D> เพื่อสั่ง Deselect



ขั้นตอนที่ 6. ให้ใส่ Filter ในแต่ละเลเยอร์ดังนี้
ไปที่ Layer 1: เลือก Filter > Blur > Motion Blur... โดยตั้งค่า Angle: 0 ,Distance: 999


ไปที่ Layer 2: เลือก Filter > Blur > Motion Blur... โดยตั้งค่า Angle: 0 ,Distance: 400
ไปที่ Layer 3: เลือก Filter > Blur > Motion Blur... โดยตั้งค่า Angle: 0 ,Distance: 250
ไปที่ Layer 4: เลือก Filter > Blur > Gaussian Blur... โดยตั้งค่า Radius: 8
ไปที่ Layer 5: เลือก Filter > Blur > Gaussian Blur... โดยตั้งค่า Radius: 14
ไปที่ Layer 6: เลือก Filter > Blur > Gaussian Blur... โดยตั้งค่า Radius: 5



ขั้นตอนที่ 7. ย้ายตำแหน่งเลเยอร์ตัวอักษรขึ้นไปไว้ด้านบนสุด



ขั้นตอนที่ 8. ไปที่เลเยอร์ตัวอักษรซึ่งอยู่ด้านบนสุดจากนั้นให้เลือก Layer > New Adjustment Layer > Hue/Saturation แล้วกดปุ่ม OK



ขั้นตอนที่ 9. จะพบว่ามีเมนูปรากฎออกมาให้เลือกปรับสีได้ตามต้องการโดยในตัวอย่างนี้ได้เปลี่ยนให้ค่า Hue: -100 จากนั้นก็กดปุ่ม OK ก็เสร็จแล้ว




ขั้นตอนที่ 10. โดยถ้าต้องการเปลี่ยนสีของลำแสงก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการไปกดดับเบิ้ลคลิกที่ Layer Thumbnail ของ Adjustment Layer ที่ถูกสร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 8 ก็จะพบว่ามีเมนู Hue/Saturation โผล่มาให้แก้ไขอีกครั้ง ซึ่งถ้าหากลองปรับค่า Hue ให้เปลี่ยนแปลงไปก็จะได้ลำแสงที่มีสีแตกต่างกันดังภาพด้านล่าง ซึ่งภาพในตัวอย่างเกิดจากการตั้งค่า Hue ดังนี้
สีน้ำเงิน > Hue: +180
สีเขียว > Hue: +70
สีม่วง > Hue: -100
สีแดง > Hue: -45

Excel: เปลี่ยนข้อมูลในเซลล์ให้เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่

เราสามารถเปลี่ยนข้อมูลในเซลล์ของโปรแกรม Excel ให้เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ได้ด้วยฟังก์ชัน LOWER ,UPPER และ PROPER ซึ่งมีวิธีดังนี้


1. การใช้สูตร UPPER เพื่อบังคับตัวอักษรในเซลล์นั้นๆ ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
สูตร =UPPER(เซลล์ข้อมูลที่ต้องการ)


2. การใช้สูตร LOWER เพื่อบังคับตัวอักษรในเซลล์นั้นๆ ให้เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
สูตร =LOWER(เซลล์ข้อมูลที่ต้องการ)


3. การใช้สูตร PROPER เพื่อบังคับตัวอักษรในเซลล์นั้นๆ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่แล้วตามด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด โดยจะเว้นช่วงตามการเว้นวรรค
สูตร =PROPER(เซลล์ข้อมูลที่ต้องการ)

RSS Feed คืออะไร


อาร์เอสเอส (RSS = Really Simple Syndication) คือ ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบเอ็กเอ็มแอล (XML) ที่กำหนดขึ้นมา สำหรับกระจายข้อมูลออกไปสู่เว็บไซต์ (Website Syndication) หรือเว็บบล็อก (Web Blog) เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถใช้ติดตามข่าวสารใหม่ๆได้ในทันที
ตัวย่อต่าง ๆ ที่ใช้อ้างถึงมาตรฐานนี้
  • Rich Site Summary (RSS 0.91)
  • RDF Site Summary (RSS 0.9 และ 1.0)
  • Really Simple Syndication (RSS 2.0)
RSS หรือ Really Simple Syndication เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข้อมูลหรือข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทางโดยถ้าข้อมูลที่เว็บต้นแบบถูกแก้ไขจะทำให้ข่าวที่เว็บของเรามีการแก้ไขตามไปด้วย ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่นเว็บไซต์ข่าว หรือบล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหากเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้

จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์

นอกจากนี้สำหรับนักท่องเน็ตทั่วไป สามารถนำประโยชน์ของ RSS นี้ไปใช้งานได้ โดยสามารถติดตั้งโปรแกรม RSS Reader ใช้สำหรับดึงหัวข้อข่าวสารที่มีบริการ RSS มาไว้ในเครื่องของเรา และเมื่อมีการ อัพเดทจากเว็บนั้นๆ เราก็สามารถคลิกลิงค์ไปยังเว็บที่ให้บริการได้โดยตรง ช่วยให้ย่นเวลาในการเข้าไปดูเว็บต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก

Blogger: ส่งออกและนำเข้าบทความระหว่างบล็อก


การส่งออกบทความ Blogger จะเป็นการคัดลอกสำเนาบทความทั้งหมดรวมถึงความคิดเห็นที่มีอยู่ในบล็อกอันเก่า ไปใส่ลงบล็อกใหม่ ซึ่งบทความที่ถูกส่งออกไปก็จะยังอยู่ในบล็อกเก่าต่อไปเหมือนเดิมจนกว่าคุณจะสั่งลบมันทิ้ง ซึ่งเหมาะมากสำหรับเวลาที่ต้องการย้ายบล็อก โดยมีขั้นตอนดังนี้ (ขั้นตอนที่ 1-3 จะเป็นการส่งออก ส่วนขั้นตอน 4-8 จะเป็นการนำเข้า)

ขั้นตอนที่ 1. ในบล็อกอันเก่า (Old Blog) ให้เลือกที่ การตั้งค่า > ขั้นต้น

ขั้นตอนที่ 2. ในหัวข้อ "เครื่องมือเขียนบล็อก" ให้เลือกที่ "ส่งออกบล็อก"


ขั้นตอนที่ 3. เลือก "ดาวน์โหลดบล็อก" ก็จะทำให้บทความในบล็อกเก่านี้ถูกส่งออกมาเป็นไฟล์ชนิด XML Document โดยให้ "Save" ไฟล์นี้ลงไปในเครื่องของเรา



ขั้นตอนที่ 4. ไปที่บล็อกใหม่ (New Blog) แล้วเลือก การตั้งค่า > ขั้นต้น โดยในครั้งนี้ให้เลือกที่ "นำเข้าบล็อก"


ขั้นตอนที่ 5. กดที่ "เลือกไฟล์" โดยให้ไปเลือกไฟล์ XML Document ที่ถูกเก็บไว้ในเครื่องแล้วกดที่ "open"



ขั้นตอนที่ 6. พิมพ์อักขระที่คุณเห็นในภาพด้านล่าง


ขั้นตอนที่ 7. จะพบว่ามีตัวเลือก "เผยแพร่บทความที่นำเข้าทั้งหมดโดยอัตโนมัติ" แสดงไว้อยู่ โดยถ้าไม่เลือกตัวเลือกนี้บทความที่ถูกนำเข้ามานี้ก็จะยังไม่ถูกนำไปเผยแพร่ แต่ส่งจะไปอยู่ในกลุ่ม "นำเข้าแล้ว" ของเมนู "แก้ไขบทความ" ซึ่งเราสามารถไปเลือกสั่งให้เผยแพร่แต่เฉพาะอันที่ต้องการได้

ขั้นตอนที่ 8. กดที่ "นำเข้าบล็อก" ก็เสร็จแล้ว


อธิบายเพิ่มเติม
ในขั้นตอนที่ 7 ถ้าหากว่าไม่เลือกที่ "เผยแพร่บทความที่นำเข้าทั้งหมดโดยอัตโนมัติ" จะทำให้บทความที่นำเข้ามานั้นถูกส่งไปอยู่ที่ การส่งบทความ > แก้ไขบทความ > นำเข้าแล้ว ดังภาพด้านล่างครับ

Window XP: เช็คว่าเป็น 32 bit หรือ 64 bit

กดปุ่ม Start (อยู่มุมล่างซ้าย) > Run
จากนั้นคัดลอกข้อความด้านล่างนี้แล้ววางลงในช่องที่ปรากฎออกมา
winmsd.exe


แล้วกดปุ่ม OK จากนั้นรอสักครู่ก็จะมีหน้าต่าง System Information โผล่ออกมาซึ่งมีข้อมูลของ System Summary แสดงไว้อยู่

โดยสามารถดูข้อมูลได้จาก 2 จุดว่าวินโดว์สที่ใช้อยู่รันด้วยระบบ 32-bit หรือ 64-bit คือ

โดยแบบที่ 1. ดูได้ที่ System Type
- ถ้าเป็นวินโดว์ส 32-bit ใน System Type จะระบุว่าเป็น x86-based PC
- ถ้าเป็นวินโดว์ส 64-bit ใน System Type จะระบุว่าเป็น x64-based PC

หรือแบบที่ 2. ดูที่ Processor ก็ได้เหมือนกัน
- ถ้าเป็น x86 แสดงว่าวินโดว์สที่ใช้รันด้วยระบบ 32-bit
- ถ้าเป็น ia64 หรือ AMD64 แสดงว่าวินโดว์สที่ใช้รันด้วยระบบ 64-bit


Credit: http://www.xtra-art.com/webboard/index.php?topic=44.0