Wordpress: เริ่มต้นสร้างบล็อกได้ฟรีที่ Wordpress.com


อีกหนึ่งผู้ให้บริการบล็อกที่ให้ใช้ได้ฟรี ซึ่งมีผู้ใช้แพร่หลายจำนวนมากก็คือ Wordpress โดยสามารถสมัครสร้างบล็อกได้เสร็จภายในไม่กี่วินาทีเพียงแค่มีอีเมล์ของตนเองก็พอแล้ว และปรับแต่งรูปโฉมได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งมีเมนูแบบภาษาไทยให้เลือกใช้ด้วย

ขั้นตอนที่ 1. เริ่มโดยให้เข้าไปที่ http://th.wordpress.com/ จากนั้นเลือกที่ปุ่ม "สมัครตอนนี้เลย" หรือจะใช้วิธีเข้าไปที่ http://th.wordpress.com/signup/  เลยก็ได้


ขั้นตอนที่ 2. ใส่ข้อมูลของตนเองลงไปแล้วกดที่ปุ่ม "ต่อไป"

A: ใส่ชื่อผู้ใช้ Wordpress ที่คุณต้องการลงไปซึ่งห้ามซ้ำกับผู้ใช้คนอื่น โดยถึงแม้ชื่อที่ตั้งตรงนี้จะดูไม่ค่อยดีก็ไม่เป็นไร เพราะว่าชื่อของคุณที่จะแสดงให้ผู้อ่านบล็อกเห็นจะถูกตั้งในอีกที่หนึ่ง ซึ่งสามารถตั้งได้ตามใจชอบและจะซ้ำกับใครก็ได้
B: ตั้งรหัสผ่านสำหรับ Wordpress
C: พิมพ์รหัสผ่านที่ตั้งไว้อีกครั้ง
D: ใส่อีเมล์ของคุณลงไป (ต้องเป็นอีเมล์ที่ติดต่อได้จริงเพราะต้องเข้าไปยืนยันการสมัครนี้)
E: คลิกเลือกยอมรับข้อตกลง


ขั้นตอนที่ 3. จะมีที่ตั้ง "URL ของโดเมนบล็อก (Blog Domain)" และ "หัวข้อบล็อก (Blog Title)" ของบล็อกอันแรกที่คุณจะสร้างแสดงไว้อยู่โดยถ้าไม่ชอบค่าเริ่มต้นที่ Wordpress ให้มาก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยถ้าหากเลือกเสร็จแล้วก็กดที่ปุ่ม "Signup"

F: ตั้ง URL เช่นถ้าใส่ในช่องนี้ว่า ### แล้วบล็อกของคุณก็จะไปตั้งอยู่ที่ ###.wordpress.com โดยห้ามซ้ำกับบล็อกของผู้อื่นที่ได้สร้างไว้ก่อนแล้ว
G: ใส่หัวข้อบล็อกซึ่งมักจะพาดหัวแสดงไว้บริเวณด้านบนของบล็อกโดยจะสามารถเปลี่ยนได้ในภายหลัง


ขั้นตอนที่ 4. จะมีข้อความแจ้งบอกว่าได้มีการส่งอีเมล์ไปหาคุณ โดยให้คุณเข้าไปยืนยันการสมัครครั้งนี้ที่อีเมล์ฉบับนั้นภายในสองวัน ไม่อย่างงั้นต้องเริ่มสมัคร Wordpress ใหม่อีกครั้ง


ขั้นตอนที่ 5. เมื่อเข้าไปที่กล่องอีเมล์ของคุณแล้วจะพบว่ามีอีเมล์จาก Wordpress ถูกส่งมา โดยให้เปิดอีเมล์ของ Wordpress ฉบับนั้นแล้วกดที่ลิงก์ยืนยันในเนื้อหาอีเมล์แล้วจะพบว่าได้เข้าไปสู่หน้า activate ซึ่งจะมีข้อความว่า "Your account is now active!" แสดงไว้อยู่


ขั้นตอนที่ 6. ถ้าต้องการดูหน้าตาบล็อกของคุณก็ให้เลือกที่ "View your site"



ขั้นตอนที่ 7. ถ้าเข้าที่ "Login" ก็จะำเป็นหน้าเว็บสำหรับเ้ข้าสู่ระบบ โดยในครั้งหน้าถ้าจะเข้ามาที่ Wordpress ก็ให้ไปที่ https://wordpress.com/wp-login.php แล้วใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านลงไปแล้วค่อยกดที่ปุ่ม "เ้ข้าสู่ระบบ"

Post Status




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น