RSS Feed คืออะไร


อาร์เอสเอส (RSS = Really Simple Syndication) คือ ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบเอ็กเอ็มแอล (XML) ที่กำหนดขึ้นมา สำหรับกระจายข้อมูลออกไปสู่เว็บไซต์ (Website Syndication) หรือเว็บบล็อก (Web Blog) เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถใช้ติดตามข่าวสารใหม่ๆได้ในทันที
ตัวย่อต่าง ๆ ที่ใช้อ้างถึงมาตรฐานนี้
  • Rich Site Summary (RSS 0.91)
  • RDF Site Summary (RSS 0.9 และ 1.0)
  • Really Simple Syndication (RSS 2.0)
RSS หรือ Really Simple Syndication เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข้อมูลหรือข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทางโดยถ้าข้อมูลที่เว็บต้นแบบถูกแก้ไขจะทำให้ข่าวที่เว็บของเรามีการแก้ไขตามไปด้วย ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่นเว็บไซต์ข่าว หรือบล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหากเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้

จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์

นอกจากนี้สำหรับนักท่องเน็ตทั่วไป สามารถนำประโยชน์ของ RSS นี้ไปใช้งานได้ โดยสามารถติดตั้งโปรแกรม RSS Reader ใช้สำหรับดึงหัวข้อข่าวสารที่มีบริการ RSS มาไว้ในเครื่องของเรา และเมื่อมีการ อัพเดทจากเว็บนั้นๆ เราก็สามารถคลิกลิงค์ไปยังเว็บที่ให้บริการได้โดยตรง ช่วยให้ย่นเวลาในการเข้าไปดูเว็บต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก

Post Status




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น